ระบบประเมินอาการและปรึกษาแพทย์ : แบบฟอร์มการซักประวัติ อาการ/โรคจากการสัมผัสสิ่งแวดล้อม



* ระบบตรวจพบว่าท่านเคยกรอกแบบฟอร์มนี้แล้ว เพื่อป้องกันข้อมูลที่เป็นส่วนตัว
ระบบได้ทำการปิดกั้นส่วนข้อมูลส่วนตัว
ท่านสามารถกรอกแบบฟอร์มตั้งแต่ข้อ 6 เป็นต้นไป












ผลการประเมินเบื้องต้น

คำแนะนำเบื้องต้น

อาการแน่นหน้าอก

เกิดได้จากหลายสาเหตุ ในผู้สูงอายุอาจจะเกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจได้ โดยเฉพาะถ้ามีเส้นเลือดหัวใจตีบอยู่เก่าหรือเคยมีอาการเจ็บหน้าอกอยู่แล้ว ถ้ามีอาการแน่นหน้าอกมากเวลาออกกำลัง หรืออยู่เฉยๆ มีอาการแน่นหน้าอก ควรมาพบแพทย์

ในคนอายุน้อย ที่มีอาการแน่นหน้าอก อาจเกิดจากอาการหลอดลมหดเกร็ง จากการเป็นหอบ หรือหลอดลมอักเสบ มักจะมีอาการไอร่วมด้วย เวลาหายใจจะมีเสียงหืด ในปอด ถ้ามีอาการหอบมากควรไปพบแพทย์

การดูแลเบื้องต้น

• ถ้ามีอาการมาก หรือพักชั่วครู่แล้วไม่หาย โดยเฉพาะถ้าอายุมาก ให้รีบหลบเข้าในอาคาร หรือ พบแพทย์
• การใส่หน้ากาก ช่วยได้ส่วนหนึ่ง แต่จะทำให้อึดอัดมากขึ้น อาการอาจจะแย่ลง ให้ออกจากที่ซึ่งมีมลพิษ และรีบไปพบแพทย์

เมื่อไรจึงควรมาพบแพทย์

• ถ้ามีอาการแน่นหน้าอกมาก เมื่อนั่งพักแล้วไม่หาย ควรมาพบแพทย์

คำแนะนำอาการไอ

อาการไอเกิดจากการระคายเคืองคอ หรือทางเดินหายใจ เป็นอาการที่ไม่จำเพาะ แต่ถ้าท่านอยู่ในเขตมลพิษ อาจจะเกิดจากมลพิษได้ โดยเฉพาะถ้าท่านไม่เคยไอ มาก่อนเลย หรือไม่เคยไอถี่ขนาดนี้มาก่อน

ถ้าท่านเป็นโรคปอดเช่นหอบหืด หรือ โรคถุงลมโป่งพองอยู่แล้ว มีอาการไอมาก ซึ่งอาจจะกระตุ้นให้อาการกำเริบรุนแรง ให้รีบหลบเข้าในอาคาร หรือถ้ามีอาการมากต้องไปพบแพทย์

การดูแลตนเองเบื้องต้น

• ถ้าไม่ไอมาก ก็อาจไม่ต้องทำอะไร
• ถ้าไอมากให้ลองหลบเข้าในอาคารหรือในบ้าน อาการไอจะดีขึ้น ถ้าเกิดจากการระคายเคือง
ถ้ายังไม่หายเมื่อรอสักระยะเวลาหนึ่งให้ไปพบแพทย์
• ไม่แนะนำให้ซื้อยาแก้ไอมารับประทาน เพราะยาแก้ไอบางชนิดมีการกดอาการไอ อาจทำให้มีอาการแทรกซ้อน
• เลี่ยงการสัมผัสฝุ่นทั้งในบ้านและนอกบ้าน
• เลี่ยงอาหารรสจัด อาหารมัน อาหารทอด
• ดื่มน้ำอุ่น ดื่มน้ำมะนาวผสมน้ำผึ้ง น้ำขิง อุ่นๆ ลดการระคายเคืองคอ
• รับประทานผลไม้รสเปรี้ยว มะนาว มะขามป้อม
• ใช้สมุนไพร ที่มีฤทธิ์บรรเทาอาการไอ เช่น มะขามแก่ น้ำมะนาว ผลมะขามป้อม ผลบ๊วย ผลมะนาวดอง เนื้อสับปะรด น้ำกระเจี๊ยบแดง
• ใช้ยาอมแก้ไอ ยาอมมะแว้ง เพิ่มความชุมคอ
• การกลั้วคอด้วยน้ำอุ่นผสมเกลือ
• นอนหลับพักผ่อน

สมุนไพรที่มีฤทธิ์ช่วยบรรเทาอาการไอ

• สมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหย เช่น เหง้าขิง ผลดีปลี ดอกกานพลู ผลพริกไทย ต้นกะเพรา
• สมุนไพรที่มีกรดอินทรีย์ซึ่งมีรสเปรี้ยว ช่วยบรรเทาอาการอักเสบในลำคอได้ ได้แก่ เนื้อฝักมะขามแก่ น้ำมะนาว ผลมะขามป้อม ผลบ๊วย ผลมะนาวดอง เนื้อสับปะรด น้ำกระเจี๊ยบแดง
• สมุนไพรอื่น ๆ ที่แสดงฤทธิ์ในการบรรเทาอาการไอได้ดี และมีกลไกการออกฤทธิ์อื่น ๆ ได้แก่ ผลมะแว้งเครือ ผลมะแว้งต้น ใบเสนียด เมล็ดเพกา เป็นต้น

เมื่อไรจึงควรมาพบแพทย์

• ถ้าไอมาก ร่วมกับมีแน่นหน้าอกมาก เมื่อนั่งพักแล้วไม่หาย ควรมาพบแพทย์
• ถ้าไอมาก แม้ว่าจะไม่ได้สัมผัสกับมลพิษแล้ว และพักแล้ว 1-2 วันอาการยังไม่ดีขึ้น ควรมาพบแพทย์
• หากมีไข้ น้ำมูกไหล ปวดศีรษะ ควรเข้าพบแพทย์

มีเสมหะตลอดเวลา

การมีเสมหะเกิดจากการระคายเยื่อบุจมูก ทำให้มีเสมหะไหลลงคอ หรือมีการระคายเคืองท่อลมหรือถุงลมในปอด ทำให้มีการอักเสบและขับเสมหะออกมา ปกติผู้สูงอายุอาจจะมีเสมหะออกมาช่วงเช้าหรือก่อนนอน ทำให้ไอ เพื่อขับเสมหะออกมา

การดูแลเบื้องต้น

• ถ้ามีเสมหะออกมาตลอดเวลา ให้ใส่หน้ากากป้องกัน หรือพยายามอยู่ในอาคาร รับประทานน้ำให้มากๆ
• ถ้าอาการเสมหะไม่ดีขึ้นใน 1-2 วัน หรือเริ่มมีอาการหอบ แน่นหน้าอกให้ไปพบแพทย์

เมื่อไรจึงควรมาพบแพทย์

• ถ้ามีเสมหะตลอดเวลา เสมหะเปลี่ยนสีเป็นสีเขียว ร่วมกับมีอาการหอบเหนื่อย แน่นหน้าอก ควรมาพบแพทย์

มีอาการหอบหายใจเสียงดังหวีด

การหอบหายใจเสียงดังหวีด เป็นอาการหอบหืด จะมีอาการเหนื่อยร่วมด้วย เกิดจากท่อลมตีบทำให้ต้องใช้แรงมากในการขับอากาศออกจากปอด ร่วมกับการมีเสมหะ และไอ ถ้าหอบมาก อากาศจะไม่พอมีอาการอ่อนแรง และเหนื่อยมาก ถือเป็นเรื่องต้องแก้ใขรีบด่วน

การดูแลเบื้องต้น

• ต้องรีบหลบเข้าอาคารหรือออกจากบริเวณที่ไม่มีมลพิษ
• การใส่หน้ากากอาจทำให้มีอาการมากขึ้น เพราะอากาศถูกกรองผ่านเข้าไปได้น้อยลง
• ถ้าไม่เคยเป็นมาก่อน ให้พัก ถ้ายังหอบอยู่ให้ไปพบแพทย์
• ถ้าเป็นหอบหืดอยู่เก่า แล้วมีอาการกำเริบ ให้พ่นยาแก้หอบ และพบแพทย์

เมื่อไรจึงควรมาพบแพทย์

• ถ้าไม่เคยหอบมาก่อน เมื่อนั่งพักแล้วไม่หาย ควรมาพบแพทย์
• ถ้าเป็นหอบหืดอยู่แล้ว รักษาเบื้องต้นด้วยยาพ่นแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ควรมาพบแพทย์

มีผื่นที่ผิวหนัง

ผื่นที่ผิวหนัง อาจจะคันหรือไม่คัน เกิดจากการระคายเคือง พยายามอย่าเกา อาจทำให้เกิดแผล

การดูแลเบื้องต้น

• ให้อาบน้ำล้างตัวเมื่อทำได้ อาการจะดีขึ้นเมื่อไม่มีการสัมผัส และล้างมลพิษออกจากผิวหนัง
• ถ้าเกิดจากการแพ้ จะหายไปเอง
• ประชาชนที่มีโรคผิวหนังอยู่เดิมควรเลี่ยงการสัมผัสฝุ่น
• เลี่ยงการออกนอกอาคาร ในบริเวณที่มีปริมาณฝุ่นมลพิษปริมาณมาก
• ใส่เสื้อผ้าปกคลุมร่างกายเพื่อเลี่ยงการสัมผัสฝุ่น PM2.5
• หลีกเลี่ยงการแกะเกา การเสียดสี
• ใช้สบู่อ่อนๆในการทำความสะอาดร่างกาย
• ทาครีมบำรุงให้ผิวชุ่มชื้นอย่างสม่ำเสมอ
• ใช้ยาทานแก้แพ้ที่เป็นสารต้านฮิสตามีน (oral antihistamine) และยาทาสเตียรอยด์เพื่อลดผื่นภายใต้การกำกับดูแลของแพทย์หรือเภสัชกร

เมื่อไรจึงควรมาพบแพทย์

• ถ้ามีผื่นร่วมกับมีอาการหอบเหนื่อย แน่นหน้าอก ควรมาพบแพทย์
• ถ้ามีผื่นเพียงอย่างเดียว ไม่มีอาการหอบเหนื่อย อาการไม่ดีขึ้นใน 1-2 วัน ควรมาพบแพทย์

การระคายเคืองตา

ระคายเคืองตา อาจจะมีอาการคันตา หรือตาแดงร่วมด้วย ไม่ควรขยี้ตา เพราะอาจจะทำให้อาการเป็นมากขึ้นได้

การดูแลเบื้องต้น

• ควรใส่แว่นกันแดดกันฝุ่นและกันลมเมื่อออกจากบ้าน โดยเฉพาะผู้ที่ขับขี่รถจักรยานยนต์
• หลบเข้าอาคารหรือออกจากบริเวณที่ไม่มีมลพิษ
• หลีกเลี่ยงการขยี้ตา ไม่ควรใช้สำลีหรือของมีคมอื่นๆ สัมผัสกับลูกตา อาจทำให้ผิวกระจกตาถลอก
• แนะนำล้างตา เพื่อล้างมลพิษออกจากตา
• หยอดน้ำตาเทียม หรือน้ำยาล้างตา โดยใช้น้ำเกลือ หรือน้ำสะอาด เพื่อล้างฝุ่นออก
• กะพริบตาถี่ๆ ช่วยให้เศษฝุ่นหลุดออกมาเร็วขึ้น
• ถ้าล้างตาแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น แนะนำให้ไปพบแพทย์

เมื่อไรจึงควรมาพบแพทย์

• ถ้าล้างตาแล้วไม่ดีขึ้น ยังมีการระคายเคืองตามาก ควรมาพบแพทย์
• หากมีอาการคันตามากขึ้น หรือตาแดงอักเสบมาก ควรเข้าพบจักษุแพทย์

ตาแดง

ตาแดง อาจจะมีอาการคันตา หรือระคายเคืองตา ปวดตาร่วมด้วย ไม่ควรขยี้ตา เพราะอาจจะทำให้อาการเป็นมากขึ้นได้ ซึ่งตาแดงอาจเกิดจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่จากมลพิษ เช่น จากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย

การดูแลเบื้องต้น

• ควรใส่แว่นกันแดดกันฝุ่นและกันลมเมื่อออกจากบ้าน โดยเฉพาะผู้ที่ขับขี่รถจักรยานยนต์
• หลบเข้าอาคารหรือออกจากบริเวณที่ไม่มีมลพิษ
• หลีกเลี่ยงการขยี้ตา ไม่ควรใช้สำลีหรือของมีคมอื่นๆ สัมผัสกับลูกตา อาจทำให้ผิวกระจกตาถลอก
• แนะนำล้างตา เพื่อล้างมลพิษออกจากตา
• หยอดน้ำตาเทียม หรือน้ำยาล้างตา โดยใช้น้ำเกลือ หรือน้ำสะอาด เพื่อล้างฝุ่นออก
• กะพริบตาถี่ๆ ช่วยให้เศษฝุ่นหลุดออกมาเร็วขึ้น
• ถ้าล้างตาแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น แนะนำให้ไปพบแพทย์

เมื่อไรจึงควรมาพบแพทย์

• ถ้าล้างตาแล้วไม่ดีขึ้น ยังมีการระคายเคืองตามาก ควรมาพบแพทย์
• หากมีอาการคันตามากขึ้น หรือตาแดงอักเสบมาก ควรเข้าพบจักษุแพทย์

เจ็บหน้าอก

เกิดได้จากหลายสาเหตุ ในผู้สูงอายุอาจจะเกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจได้ โดยเฉพาะถ้ามีเส้นเลือดหัวใจตีบอยู่เก่าหรือเคยมีอาการเจ็บหน้าอกอยู่แล้ว ถ้ามีอาการเจ็บหน้าอกมากเวลาออกกำลัง หรืออยู่เฉยๆ มีอาการเจ็บหน้าอก ควรมาพบแพทย์

ในคนอายุน้อย ที่มีอาการเจ็บหน้าอก อาจเกิดจากกล้ามเนื้ออักเสบ ถ้ามีอาการมากควรไปพบแพทย์

การดูแลเบื้องต้น

• ถ้ามีอาการมาก หรือพักชั่วครู่แล้วไม่หาย โดยเฉพาะถ้าอายุมาก ให้รีบหลบเข้าในอาคาร หรือ พบแพทย์ • การใส่หน้ากาก ช่วยได้ส่วนหนึ่ง แต่จะทำให้อึดอัดมากขึ้น อาการอาจจะแย่ลง ให้ออกจากที่ซึ่งมีมลพิษ และรีบไปพบแพทย์

เมื่อไรจึงควรมาพบแพทย์

• ถ้าออกจากการสัมผัสมลพิษ นั่งพักแล้วอาการเจ็บหน้าอกยังไม่ดีขึ้น ควรมาพบแพทย์

เหนื่อยมากต้องนั่งพักหรือเหนื่อยจนทำงานไม่ได้

เกิดได้จากหลายสาเหตุ อาจจะเกิดจากโรคหัวใจล้มเหลว มักมีอาการบวมร่วมด้วย ถ้านอนราบแล้วมีต้องลุกมานั่งหายใจหอบเหนื่อย ควรรีบไปพบแพทย์

อาจจะเกิดจากโรคที่ระบบทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด ซึ่งเกิดจากท่อลมตีบทำให้ต้องใช้แรงมากในการขับอากาศออกจากปอด ร่วมกับการที่อาจจะมีเสมหะ และไอ ถ้าหอบมาก อากาศจะไม่พอ มีอาการอ่อนแรง และเหนื่อยมาก ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน

การดูแลเบื้องต้น

• ถ้ามีอาการมาก หรือพักชั่วครู่แล้วไม่หาย โดยเฉพาะในผู้ป่วยสูงอายุ ให้รีบหลบเข้าในอาคาร หรือ พบแพทย์
• การใส่หน้ากาก ช่วยได้ส่วนหนึ่ง แต่จะทำให้อึดอัดมากขึ้น อาการอาจจะแย่ลง ให้ออกจากที่ซึ่งมีมลพิษ และถ้าอาการเหนื่อยยังไม่ดีขึ้น ให้รีบไปพบแพทย์

เมื่อไรจึงควรมาพบแพทย์

• ถ้าออกจากการสัมผัสมลพิษ นั่งพักแล้วอาการเหนื่อยยังไม่ดีขึ้น ควรมาพบแพทย์

การป้องกันตนเองจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก

• ติดตามสถานการณ์คุณภาพอากาศ การประกาศแจ้งเตือนพื้นที่ที่ต้องเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษอากาศจากสื่อต่างๆ
• ในช่วงที่ฝุ่นละอองสูง ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมนอกบ้าน
• ถ้าจำเป็นต้องเข้าไปในพื้นที่เสี่ยงฝุ่นสูง ให้สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากาก N95 และต้องใส่ให้ถูกวิธี
• ปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิด ทำความสะอาดบ้านอยู่เสมอ โดยการเช็ด/ถู แบบเปียก และเปิดพัดลมให้อากาศหมุนเวียน
• หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในช่วงเช้า และบริเวณที่มีฝุ่นสูง เช่น ริมถนน
• ดื่มน้ำสะอาด และดูแลสุขภาพให้แข็งแรง


คำแนะนำเบื้องต้นจากโรคประจำตัว

โรคความดันโลหิตสูง

โรคที่มีความดัน systolic ตั้งแต่ 140 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป หรือมีความดัน diastolic ตั้งแต่ 90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป

การดูแลเบื้องต้น

• แนะนำให้ไม่ดื่มชาหรือกาแฟ และไม่สูบบุหรี่ ก่อนทำการวัดความดันโลหิตอย่างน้อย 30 นาที หากมีอาการปวดปัสสาวะแนะนำให้ไปปัสสาวะก่อน นั่งพักบนเก้าอี้ในห้อง ที่เงียบสงบเป็นเวลา 5 นาที หลังพิงพนักเพื่อไม่ต้องเกร็งหลัง เท้า 2 ข้างวางราบกับพื้น ห้ามนั่งไขว่ห้าง ไม่พูดคุยทั้งก่อนหน้าและขณะวัดความดันโลหิต วางแขนซ้ายหรือขวาที่จะทำการวัดอยู่บนโต๊ะ โดยให้บริเวณที่จะพัน arm cuff อยู่ระดับเดียวกับระดับหัวใจ และไม่เกร็งแขนหรือกำมือในขณะวัดความดันโลหิต
• ตามปกติระดับความดันโลหิตที่วัดได้ที่บ้านจากเครื่องวัดความดันโลหิตชนิดพกพาจะต่ำกว่าค่าที่วัดได้ในสถานพยาบาลประมาณ 5 มิลลิเมตรปรอท ดังนั้นเมื่อวัดความดันโลหิตที่บ้านได้ค่าความดัน systolic ตั้งแต่ 135 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป หรือมีความดัน diastolic ตั้งแต่ 85 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป จะถือว่าความดันโลหิตสูงผิดปกติ
• เมื่อวัดความดัน systolic ตั้งแต่ 140 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป หรือความดัน diastolic ตั้งแต่ 90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป แนะนำให้พบแพทย์เพื่อประเมินระดับความเสี่ยงที่จะเกิดโรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด เพื่อทำการรักษาโดยปรับวิถีการดำเนินชีวิต ร่วมกับพิจารณาความจำเป็นในการใช้ยาลดความดันโลหิต

เมื่อไรจึงควรมาพบแพทย์

• ถ้าวัดความดัน systolic ได้ตั้งแต่ 140 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป หรือมีความดัน diastolic ตั้งแต่ 90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไปควรมาพบแพทย์

โรคเบาหวาน

โรคที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง โดยเมื่องดน้ำงดอาหาร 8 ชั่วโมง แล้วมาตรวจเลือดพบระดับน้ำตาล (Fasting blood sugar) สูงตั้งแต่ 126 mg% ขึ้นไป ถ้าระดับน้ำตาลสูง อาจจะมีอาการปัสสาวะบ่อย หิวน้ำบ่อย เลือดเป็นกรด หายใจหอบลึก และเสียชีวิตได้

การดูแลเบื้องต้น

• แนะนำควบคุมอาหาร ลดการรับประทานอาหารประเภทของหวาน แป้ง คาร์โบไฮเดรต น้ำตาล น้ำหวาน และควรออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม

เมื่อไรจึงควรมาพบแพทย์

• ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่า 400 mg% หรือสูงไม่ถึง 400 mg% แต่มีอาการหอบเหนื่อย ควรรีบมาพบแพทย์

โรคหัวใจและหลอดเลือด

โรคที่มีแยกย่อยออกไปได้อีกหลายประเภท เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคลิ้นหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ

โรคที่พบบ่อยและอาจจะอาการแย่ลงได้จากมลพิษ คือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

การดูแลเบื้องต้น

• แนะนำควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆให้เหมาะสม หยุดสูบบุหรี่ถ้าสูบบุหรี่ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ประจำตัว

เมื่อไรจึงควรมาพบแพทย์

• ถ้ามีอาการผิดปกติที่อาจจะเกิดจากโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น เจ็บหน้าอก เหนื่อยมาก นอนราบไม่ได้ ขาบวม ปลายมือปลายเท้าซีด ควรรีบมาพบแพทย์

โรคปอด/หอบหืด

โรคปอดมีแยกย่อยออกไปได้อีกหลายประเภท เช่น โรคของเนื้อปอด โรคของหลอดลม

โรคที่พบบ่อยและอาจจะอาการแย่ลงได้จากมลพิษ คือ โรคหอบหืด และโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง

การดูแลเบื้องต้น

• แนะนำควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆให้เหมาะสม หยุดสูบบุหรี่ถ้าสูบบุหรี่ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ประจำตัว

เมื่อไรจึงควรมาพบแพทย์

• ถ้ามีอาการผิดปกติที่อาจจะเกิดจากโรคปอด/หอบหืด เช่น แน่นหน้าอก เหนื่อยมาก ควรรีบมาพบแพทย์

โรคภูมิแพ้

โรคภูมิแพ้สามารถเกิดขึ้นได้กับหลายระบบในร่างกาย ได้แก่

• ภูมิแพ้ทางเดินหายใจ จะมีอาการไอ จาม แน่นหน้าอก หอบเหนื่อย หายใจมีเสียงหวีด หรือหายใจเร็ว

• ภูมิแพ้ผิวหนัง จะมีอาการคัน ผดผื่นขึ้นตามตัว ผิวแห้งแดง บางครั้งผื่นอาจเป็นปื้น นูนแดง และคัน

• ภูมิแพ้ตา จะมีอาการคันตา เคืองตา ตาแดง น้ำตาไหล แสบตา หนังตาบวม

การดูแลเบื้องต้น

• แนะนำหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อม เช่น การสัมผัสฝุ่น ควัน โดยเฉพาะควันบุหรี่ ละอองเกสร และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ประจำตัว

เมื่อไรจึงควรมาพบแพทย์

• ถ้าออกจากการสัมผัสมลพิษ นั่งพักแล้วอาการแน่นหน้าอก หอบเหนื่อย หายใจมีเสียงหวีดยังไม่ดีขึ้น ควรมาพบแพทย์

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease หรือ COPD)

เป็นโรคที่ หลอดลม เนื้อปอด และหลอดเลือดปอดเกิดการอักเสบเสียหาย เนื่องจากได้รับแก๊สหรือสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองเป็นเวลานาน ส่งผลให้หลอดลมค่อยๆ ตีบแคบลงหรือถูกอุดกั้นโดยไม่อาจฟื้นคืนสู่สภาพปกติได้อีกในระยะเริ่มแรก ผู้ป่วยจะยังไม่มีอาการ จนกระทั่งปอดถูกทำลายมากขึ้น ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการไอเรื้อรัง มีเสมหะมาก รู้สึกเหนื่อยหอบ หายใจลำบาก แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงหวีด ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจบ่อยๆ

การดูแลเบื้องต้น

• แนะนำหลีกเลี่ยงมลพิษในอากาศ เช่น การสัมผัสฝุ่น ควัน โดยเฉพาะควันบุหรี่ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ประจำตัว

เมื่อไรจึงควรมาพบแพทย์

• ถ้าออกจากการสัมผัสมลพิษ นั่งพักแล้วอาการแน่นหน้าอก หอบเหนื่อย หายใจมีเสียงหวีดยังไม่ดีขึ้น ควรมาพบแพทย์