A2.3: เนื่องจาก PM2.5 ในแต่ละจุดแต่ละเวลาอาจไม่เท่ากัน ผลกระทบต่อสุขภาพจึงขึ้นอยู่กับหลายองค์ประกอบ ได้แก่
1) “ปริมาณของฝุ่นละออง” ในพื้นที่นั้น ๆ ว่ามี PM2.5 สูงหรือไม่ เช่น ริมถนน หรือจุดที่ทางราชการประกาศว่ามีค่า PM2.5 สูง
2) “ช่วงเวลา” กับ “ระยะเวลา” ที่สัมผัส
3) “ชนิดกิจกรรมที่ทำ” ในพื้นที่ที่มีค่า PM2.5 สูง เช่น ออกกำลังกาย ทำงานหนัก เป็นต้น จะมีความเสี่ยงมากกว่ากิจกรรมที่ใช้แรงน้อย
4) “ลักษณะของบุคคล” โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ กลุ่มที่มีโรคประจำตัวที่ไวต่อผลกระทบ เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น
ดังนั้น ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่หรือทำงานอยู่บริเวณพื้นที่ที่ค่าฝุ่นละอองสูงและได้รับสัมผัสฝุ่นละอองเป็นเวลานาน รวมทั้งกลุ่มเสี่ยงจึงมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองมากกว่า
(แหล่งที่มา: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข)