Q3.11: Nasofilter (แผ่นกรองรูจมูก) สามารถใช้ป้องกัน PM2.5 ได้หรือไม่?


A3.11: ไม่ได้ จากการศึกษาวิจัยทางคลินิกเกี่ยวกับแผ่นกรองจมูก ซึ่งเป็นแผ่นกรองเมมเบรน 2 ชั้น พบว่าสามารถป้องกันภูมิแพ้จากละอองเกสรหรืออนุภาคที่มีขนาดเท่ากับเกสรดอกไม้ (ขนาดใหญ่กว่า 10 ไมครอน) เท่านั้น และช่วยลดอาการทางจมูกโดยรวม (total nasal symptom score: TNNSS) คือ คัดจมูก น้ำมูกไหล คันจมูก ระคายเคือง และจาม

ข้อมูลเพิ่มเติม

1) เว็บไซต์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย https://www.chula.ac.th/news/16235/ศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ สาขาวิชาอายุรศาสตร์โรค ระบบการหายใจและภาวะวิกฤติ เปิดเผยว่าในทางการแพทย์มีอุปกรณ์ซึ่งเรียกว่าตัวกรองจมูก (Nasal Filter) มีลักษณะคล้ายแผ่นกรองใส่เข้าไปในรูจมูกทั้งสองข้าง มีคุณสมบัติในการช่วยลดฝุ่น ควันหรือ สิ่งแปลกปลอมเข้าผ่านลมหายใจเข้าไปในจมูกได้ จากข้อมูลทางการแพทย์ใช้อุปกรณ์นี้มุ่งลดการ หายใจเอาสารที่ทําให้เกิดภูมิแพ้เข้าสู่ร่างกายทางจมูกได้ เช่น ฝุ่นละออง เกสรดอกไม้ แต่ขอเน้นย้ำว่า ถ้าลมเข้าจมูกได้น้อยลงเราจะหายใจทางปากมากขึ้น ซึ่งการหายใจทางปากจะทําให้ฝุ่นเข้าร่างกายได้ เช่นกัน และขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลที่มากพอจะยืนยันการใช้ Nasal Filter ควบคู่กับหน้ากากอนามัย

2) ปี 2017 ว่ามีบริษัทสตาร์ทอัพในสังกัด Indian Institute of Technology (IIT) Delhi สถาบัน ชั้นนํา ของอินเดีย พัฒนาแผ่นกรองฝุ่น PM2.5 ทําจากนาโนไฟเบอร์ ใช้ปิดแค่รูจมูก ในชื่อ "Nasofilter" มีจำหน่ายทาง Amazon ราคาเพียงชิ้นละประมาณ 5 บาท (http://nosk.com.my/what-isnosk.php) ที่ถูกออกแบบมาสสำหรับพอดีกับในรูจมูกเพื่อป้องกันสารก่อภูมิแพ้ เกสรดอกไม้ สารมลพิษทางอากาศ ซึ่งนักประดิษฐ์ อายุ 25 ปี ชื่อปราทีก ชาร์มา (Prateek Sharma) กล่าวว่าสามารถ ป้องกัน PM2.5 ได้ถึง 95% และยืนยันว่า”แผ่นกรองรูจมูก” ของเขานั้นใส่ง่ายไม่อึดอัด ไม่ทําให้พูดไม่ชัด ไม่เหมือนหน้ากากอนามัยที่ปิดบังใบหน้าไปครึ่งหนึ่งซึ่งในการเข้าไปทําธุรกรรมบางสถานที่ท่าน อาจถูกขอให้ถอดหน้ากากออก รวมทั้งหน้ากากชนิด N95 อาจทําให้เสียงพูดอู้อี้ หากใช้แต่สำหรับ “แผ่นกรองรูจมูก” แล้วจะไม่มีปัญหาเหล่านี้ ราคาของแผ่นกรองรูจมูกนี้จะอยู่ในระดับที่คนอินเดียส่วนใหญ่มีกําลังซื้อได้ คือประมาณ 16 เซ็นต์สหรัฐฯ ใช้ได้นาน 8 ชั่วโมงต่อแผ่น หลังจากประสิทธิภาพก็จะลดลงต้องเปลี่ยนแผ่นใหม่ ทั้งนี้ยังไม่มีผลิตขายในร้านขายยาทั่วไป แต่สามารถสั่งซื้อออนไลน์

3) ในปี 2014 เคยมีการศึกษาวิจัยทางคลินิกเกี่ยวกับแผ่นกรองจมูกผลิตในประเทศเดนมาร์ก ชื่อการค้า Rhinix เป็นแผนกรองเมมเบรน 2 ชั้นที่ผลิตมาเพื่อป้องกันภูมิแพ้ในฤดูกาลที่มีละอองเกสรหรือ อนุภาคที่มีขนาดใหญ่กว่า 10 ไมครอน โดยเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่สวมแผ่นกรองจริงกับแผ่นกรอง หลอก (Placebo) พบว่าแผนกรองช่วยลดอาการทางจมูกโดยรวม (total nasal symptom score:TNNSS) อย่างมีนัยสําคัญ ประกอบด้วยคัดจมูก น้ำมูกไหล ระคายเคือง คันจมูกและจาม

(แหล่งที่มา: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข)